Posts tagged cyber

ตรวจสอบลายนิ้วมือด้วยนาโนเทคโนโลยี

กลุ่มนักวิจัยในอิสราเอล (Israel) พัฒนาการตรวจสอบรอยนิ้วมือให้เร็วขึ้นและง่ายขึ้นโดยการใช้อนุภาคนาโนของทองที่ละลายอยู่ในสารละลายอินทรีย์ (organic solution)

Claude Roux จากศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ (Centre for Forensic Science) ของ University of Technology, Sydney กล่าวว่า การใช้นาโนเทคโนโลยีในการตรวจสอบลายนิ้วมือเป็นวิธีการใหม่ที่น่าท้าทายและน่าจะได้ผลการตรวจสอบที่ดีขึ้น

สารซิลเวอร์ที่ได้ผ่านการพัฒนามาแล้วซึ่งเรียกว่า Silver physical developer (Ag-PD) เป็นสารตัวหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจสอบสารบางประเภทที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น ไขมัน ในมือของคนเรามีคราบไขมันติดอยู่เช่นเดียวกัน ดังนั้น Ag-PD จึงถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบลายนิ้วมือบนพื้นผิวของวัสดุที่น้ำสามารถซึมผ่านได้เช่นกระดาษหรือกล่องกระดาษ การแตกตัวของซิลเวอร์บนสารที่ไม่ละลายน้ำอย่างไขมันที่ติดมากับลายนิ้วมือทำให้เกิดตะกอนสีดำตามลายนิ้วมือที่เกาะติดบนกระดาษนั้นๆ ดังนั้นเมื่อต้องการตรวจสอบรอยนิ้วมือของผู้ต้องสงสัยบนกระดาษที่เปียกซึ่งเห็นลายนิ้วมือไม่ชัดหรือไม่เห็น สามารถทำได้โดยใช้วิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อเสียคือไม่มีความคงตัวทำให้ผลที่อ่านได้มีโอกาสไม่ถูกต้องชัดเจน

อนุภาคนาโนของทองเปรียบได้ดังเป็นพระเอกที่เข้ามาช่วยทำให้การตรวจสอบลายนิ้วมือนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อนุภาคนาโนของทองหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “colloidal gold” ซึ่งมีประจุที่พื้นผิวเป็นลบ (negative charge) สามารถเกาะติดกับไขมันที่ติดมากับลายนิ้วมือซึ่งมีประจุบวก (positive charge) ในสภาวะที่เป็นกรด Matias Sametband และผู้ร่วมงานจาก Hebrew Univeriry of Jerusalem ได้พัฒนาสารละลาย colloidal gold ให้มีความคงตัวมากขึ้นโดยใช้ตัวทำละลายในกลุ่มของ petroleum ether ซึ่งมีกลุ่มของไอโดรคาร์บอนที่แตกต่างกัน (Hydrocarbon Chains) ส่งผลทำให้ผลการตรวจสอบมีความคงตัวและเห็นลายนิ้วมือชัดมากขึ้น

ในการทดลองทีมงานให้อาสาสมัครถูมือนิ้วบนหน้าผากแล้วแปะบนกระดาษ A4 หลังจากนั้นกระดาษถูกนำไปชุบน้ำแล้วปล่อยให้แห้ง กระดาษดังกล่าวถูกไปจุ่มลงในสารละลายทองที่คงตัวอยู่ในปิโตรเลี่ยมอีเธอร์ซึ่งมี hydrocarbon chains เรียกว่า “Octadecanethiol” พวกเขาให้ชื่อสารนี้ว่า Au-NPs-Cis ขั้นตอนต่อไปตามด้วย Ag-PD ผลที่ได้ทำให้เห็นลายนิ้วมือชัดเจนขึ้น มีความคงตัว และเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีเก่าที่ใช้ Ag-PD อย่างเดียว

ทีมวิจัยได้พัฒนาการตรวจสอบลายนิ้วมือบนวัสดุที่น้ำซึมผ่านไม่ได้เช่น แก้ว ซิลิคอน โดยใช้อนุภาคนาโนของ cadmium selenide และ zinc sulphide ในสารละลาบปิโตเลี่ยมอีเธอร์ วิธีนี้สารดังกล่าวสามารถเรืองแสงภายใต้รังสี UV ทำให้เห็นลายนิ้วมือโดยไม่ต้องใช้ Ag-PD แต่อย่างใด

Buckyballs ทำลายเซลล์ได้-ความเสี่ยงจากนาโนเทคโนโลยี
แนวโน้มใหม่ๆ ในอีคอมเมิร์ซ
จุดอ่อนของการทำ E-Commerce
สุดยอดเว็บไซต์เพื่อคนไทยที่มีหัวใจใฝ่รู้
คุณรู้จักคำว่า quot;Blog” ดีแค่ไหน เรื่องเล่าของ “Search Engine”
โน้ตบุ๊กเลือกสีได้เหมือนซื้อรถ
จุฬาฯ ทำนายสึนามิผ่านซูเปอร์คอมพ์ เตือนเร็ว-แม่นยำ

Leave a comment »

ยุทธการรุกรานของไวรัสขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้ถูกเปิดเผยแล้ว

งานวิจัยชิ้นหนึ่งของสถาบัน Weizmann ได้ทำความเข้าใจใหม่ ๆ ที่สำคัญในเรื่องของกระบวนการการติดเชื้อจากไวรัส ซึ่งการวิจัยนั้นได้ถูกบันทึกไว้ในวารสารออนไลน์ชื่อ PLoS Biology ซึ่งได้เปิดเผยกลไกอันแน่นอนที่ mimivirus (ไวรัสที่ได้ชื่อนี้เพราะว่าแต่เดิมนั้นเราคิดว่ามันสามารถทำการควบคุมแบคทีเรียในหลากหลายแง่มุมของพฤติกรรมของมัน) นั้นบุกรุกเซลล์อะมีบา

เซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นอยู่ในสภาพติดเชื้อโดยไวรัสได้ในสองขั้นตอน ในขั้นตอนแรก ตัวไวรัสนั้นจะทำการเจาะทะลวงเข้าไปในเซลล์ และต่อมาในขั้นตอนที่สองและเป็นขั้นตอนที่สำคัญนั้น ตัวเซลล์จะเริ่มทำการผลิตไวรัสตัวใหม่มา ซึ่งจะกระจายและทำให้เซลล์อื่นๆติดเชื้อเพิ่มเติม ในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการผลิตไวรัสนั้น เซลล์จะสร้างผนังด้านนอกของไวรัส ซึ่งเป็นที่บรรจุของพวกโปรตีนและรู้จักกันว่า capsid ซึ่งหลังจากนั้นเซลล์จะสร้างตัวก๊อปปี้ของ DNA ของไวรัสและบรรจุมันลงไปใน capsid ซึ่งทำให้เกิดไวรัสที่พร้อมทำงานตัวใหม่ขึ้นมาที่พร้อมจะออกจากเซลล์ที่มันอาศัยอยู่และไปทำให้เซลล์อื่นๆติดเชื้อมากขึ้น

การเข้าใจว่าไวรัสทำให้เซลล์ติดเชื้อและไวรัสตัวใหม่ถูกผลิตในช่วงของการติดเชื้อได้อย่างไรนั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าไปรบกวนกับวัฏจักรของการติดเชื้อและสกัดกั้นโรคที่เกิดจากไวรัสได้ อย่างไรก็ตาม หนึ่งความยากลำบากที่เกิดขึ้นก็คือว่า วิธีการที่ไวรัสต่างชนิดใช้บุกรุกนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก

ตัว mimivirus ที่รู้จักกันท่ามกลางตัวอื่นๆสำหรับขนาดของมันที่ผิดปกติ – ขนาดของมันนั้นใหญ่กว่าไวรัสตัวอื่นๆที่เป็นที่รู้จักกันถึงห้าเท่า – เป็นต้นเหตุให้เกิดความท้าทายที่น่าสนใจในประเด็นดังกล่าว ซึ่งไวรัสชนิดนี้นั้นเพิ่งจะถูกค้นพบในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบมานี้ เนื่องจากขนาดที่ไม่ธรรมดาของมันทำให้มันเป็นไปได้ที่จะระบุตัวไวรัสดังกล่าวด้วยวิธีการตามปกติ ยิ่งไปกว่านั้น ตัวมันยังมีสารพันธุกรรมมากกว่าไวรัสชนิดอื่นอยู่มาก เป็นลักษณะเฉพาะที่ทำให้ mimivirus นั้นพัฒนาวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่จะป้อน DNA เข้าไปในเซลล์ และใส่ “พัสดุ” ทางพันธุกรรมลงไปในตัวบรรจุที่เป็นโปรตีนระหว่างช่วงสร้างไวรัสตัวใหม่ขึ้นในเซลล์ที่มันอาศัยอยู่

ศาสตราจารย์ Abraham Minsky จากสถาบัน Weizmann และเพื่อนร่วมงานของเขาได้เปิดเผยรายละเอียดของวิธีการบางวิธีที่ถูกใช้โดยไวรัสชนิดนี้ ซึ่งในงานวิจัยชิ้นใหม่ของพวกเขานั้น เป็นครั้งแรกที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้รับรูปถ่ายสามมิติของช่องเปิดซึ่งสารพันธุกรรมของไวรัสได้ถูกฉีดเข้าไปในเซลล์ที่ติดเชื้อ และของกระบวนการซึ่งสารพันธุกรรมถูกใส่เข้าไปใน capsid ที่เป็นโปรตีนด้วย

ในไวรัสทั้งหมดที่เคยถูกศึกษามาก่อนหน้านี้นั้น สารพันธุกรรมไวรัสนั้นถูกแสดงว่ามันถูกฉีดเข้าไปในเซลล์(ในช่วงที่เซลล์ติดเชื้อ)และสู่ที่บรรจุที่เป็นโปรตีน(ในช่วงที่ผลิตไวรัสตัวใหม่ในเซลล์)ด้วยช่องทางเดียวกัน ซึ่งถูกสร้างขึ้นภายในตัวบรรจุไวรัส ตรงกันข้าม,เหล่านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันนั้นค้นพบว่าเจ้า mimivirus ยักษ์นี้นั้นใช้ช่องทางที่ต่างกัน (และมีตำแหน่งแตกต่างกันใน capsid ของมัน) สำหรับเป้าหมายทั้งสอง นักวิทยาศาสตรก็ยังได้ค้นพบว่าเกลียว DNA ในทั้งสองกระบวนการนี้นั้นไม่ได้จับตัวเป็นเส้นไหมยาวๆเช่นในไวรัสชนิดอื่น แต่จัดกลุ่มอัดกันเป็นก้อนอย่างแน่นหนาแทน

นักวิจัยเชื่อว่าคุณสมบติเฉพาะเหล่านี้นั้นจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ทั้งการฉีดเข้าไปในเซลล์ใหม่และการฉีดสารพันธุกรรมปริมาณมากใน mimivirus ได้ ซึ่งในการวิจัยของสถาบัน Weizmann นั้นรูปจากกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอนของ mimivirus ที่กำลังบุกรุกเซลล์อะมีบาได้แสดงให้เห็นว่าเพียงหลักจากการบุกรุกนั้น ผนังโปรตีนของ capsid ได้แยกออกจากกันและกันและเปิดออกเหมือนกับกลีบดอกไม้เพื่อสร้างทางเข้าเหมือนรูปดาวที่มีชื่อเรียกเล่นๆว่า “stargate”

ผนังของไวรัสใต้ stargate นั้นรวมตัวเข้ากับเยื่อบุผนังของเซลล์อะมีบา, สร้างช่องทางขนาดกว้างนำไปสู่ข้างในตัวอะมิบา เกิดแรงดันที่ปล่อยออกมาจากผนังที่เปิดอย่างกระทันหันซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าแรงดันของการเปิดฝาขวดแชมเปญถึง 20 เท่า ผลักDNAไวรัสเข้าไปในช่องซึ่งขนาดที่ใหญ่ของช่องนั้นทำให้สารพันธุกรรมสามารถผ่านเข้าไปในเซลล์อะมีบ้าได้อย่างรวดเร็ว

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการศึกษาเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของ mimivirus ตั้งแต่การติดเชื้อระดับเซลล์ไปจนถึงการผลิตไวรัสตัวใหม่ขึ้นมานั้นอาจให้ความเข้าใจอันมีค่าในเรื่องของกลไกการทำงานของไวรัสอื่นๆอีกมากมาย รวมถึงตัวที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์ด้วย

10 เหตุผลของการนำธุรกิจมาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
5 เหตุผล ทำไมคนไม่เข้าเว็บไซต์คุณ
ผู้ใช้คอมพ์เอเชียกลุ่มเสี่ยงติดไวรัสมากที่สุดในโลก
ตลาดเกมมะกันก.พ.ดีด34% DSกลับสู่ผู้นำเฉียด6แสนเครื่อง
Weblog นิวเทรนด์ของสังคมยุคใหม่
สิ่งที่ควรทำเบื้องต้น เมื่อโทรศัพท์มือถือตกน้ำ

Leave a comment »